ไปที่เว็บ_พระไตรปิฏกฉบับอ่าน..

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สมุนไพรผลไม้ชนิดต่างๆ 03


มะปราง (
Plum Mango)
มะปราง มีรูปร่างยาวรี มีสีเหลือง รสหวาน หรือหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย มะปรางเป็นผลไม้ที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน นิยมปลูกกันมากทางภาคใต้

 สรรพคุณทางยาสมุนไพร

ผลมะปราง ใช้รับประทานเป็นผลไม้
รากมะปราง เป็นยาเย็น ใช้ถอนพิษไข้ต่างๆ
น้ำจากต้นมะปราง ใช้เป็นยาอมกลั้วคอ
ใบมะปราง ตำใช้พอกแก้ปวดศีรษะ

คุณค่าทางอาหาร

เราสามารถนำมะปรางมาทำเป็นน้ำผลไม้ได้ ซึ่งได้รสชาติที่ดีด้วย
ในผลมะปรางสุกนั้นปรากฏว่ามีวิตามินซีมากมายช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟันและโรคหวัด แถมยังมีแคลเซียม ช่วยป้องกันกระดูกและฟัน เปราะหักง่าย วิตามินบี 1 ในมะปรางช่วยในการย่อยอาหาร เสริมสร้างการทำงานของกล้ามเนื้อและหัวใจ ป้องกันเหน็บชา และวิตามินบี 2 ช่วยในการทำงานของร่างกายในด้านการเจริญเติบโตที่เป็นปกติ

คุณค่าทางโภชนาการและอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม

พลังงาน                  47            แคลอรี่
โปรตีน                    0.4           กรัม
ใยอาหาร                 1.5           กรัม
คาร์โบไฮเดรต         11.3         กรัม
แคลเซียม               9              มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส              4              มิลลิกรัม
เหล็ก                    0.3           มิลลิกรัม
เบต้าแคโรทีน          230          ไมโครกรัม
วิตามีนบี  1              0.11         มิลลิกรัม
วิตามีนบี 2               0.05         มิลลิกรัม
ไนอะซีน                  0.5           มิลลิกรัม
วิตามีนซี                  100          มิลลิกรัม

ที่มา : หนังสือ คัมภีร์แพทย์สมุนไพร ผลไม้สมุนไพรและพืชผักสวนครัว
..............................................................................................................................................................
มะพร้าว
สรรพคุณที่สำคัญของมะพร้าว คือ ส่วนเนื้อมีฤทธิ์
บำรุงร่างกาย แก้อาการอ่อนเพลีย น้ำมะพร้าวใช้
แก้อาการกระหาย ดับร้อน และยังใช้ขับพยาธิได้ด้วย
รับประทานน้ำมะพร้าวจำนวนพอเหมาะเป็นประจำ
ช่วยแก้โรค หัวใจล้มเหลว บวมน้ำ เปลือกหุ้มรากมะพร้าว
ตากแห้ง แก้โรคคอตีบ ส่วนน้ำมันที่ได้จากกะลามะพร้าว
ใช้เป็นยาทารักษาโรคผิวหนัง ขี้กลากตามตัว ตามเท้าอีกด้วย

.............................................................................................................................................................
มะเฟือง (Carambola, Star Apple)

สรรพคุณทางยาสมุนไพร

 บรรพบุรุษของเรานำมะเฟืองมาเป็นยาสมุนไพรรักษาโรคต่างๆ มากมายหลายขนาน
ใบมะเฟือง นำใบสดๆ มาตำ ทาเป็นยารักษาโรคอีสุกอีใส และกลากเกลื้อน นำมาต้มรับประทานเป็นยาถอนพิษไข้
ผลมะเฟือง นำมาต้มรับประทานเป็นยา แก้บิด อาเจียนเป็นเลือด ขับปัสสาวะ ปวดฟัน นิ่ว และแก้เลือดออกตามไรฟัน
เปลือกลำต้นมะเฟือง  นำมาดื่มแก้อาการเมาเหล้า เมารถ แก้ไข้ ท้องร่วง และแก้พิษยาเสพติดที่ร้ายกาจอย่างเฮโรอีนได้

คุณค่าทางอาหาร

นอกจากจะเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์สูงแล้ว ยังจัดเป็นดาวเด่นของวงการผักอีกด้วย
มะเฟืองเป็นผักรสเปรี้ยวนำมารับประทานเป็นเครื่องเคียงกับแหนมเนืองอาหารเวียดนามได้เด็ดมาก
มะเฟืองนำมาทำสลัดหรือปรุงอาหารประเภทไก่ ประเภทปลา หรือนำมาแปรรูปเป็นน้ำมะเฟืองอัดกระป๋องขาย
มะเฟือง มีวิตามินซีซึ่งป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน วิตามินในมะเฟืองสด ทำให้เนื้อเยื่อแข็งแรง จับสารก่อมะเร็ง ช่วยทำให้เหงือกแข็งแรง เพิ่มกำลังให้เสปิร์มของผู้ชายและทำให้เรารู้สึกสดชื่นและปลอดโปร่งในอารมณ์ ส่วนวิตามินบี 1 จะช่วยป้องกันโรคเหน็บชา มะเฟืองนี้เราถือว่าเป็นพืชสมุนไพรอย่างหนึ่งในการบำบัดรักษาโรค สามารถนำมาต้มน้ำดื่มแก้ไข้หวัดใหญ่ ส่วนรากต้มกินแก้ท้องร่วง และผลสามารถนำมาสระผมบำรุงเส้นผมให้เงางาม และขจัดรังแค

คุณค่าทางโภชนาการและอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม

พลังงาน                  43            แคลอรี่
โปรตีน                    40.0         กรัม
ไขมัน                     0.1           กรัม
คาร์โบไฮเดรต         7.8           กรัม
แคลเซียม               9              มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส              15            มิลลิกรัม
เหล็ก                       0.4           มิลิกรัม
วิตามินเอ                 123          หน่วย
วิตามีนบี 1               0.02         มิลลิกรัม
วิตามีนบี 2               0.17         มิลลิกรัม
ไนอะซีน                  0.8           มิลลิกรัม
วิตามีนซี                  28            มิลลิกรัม

ที่มา : หนังสือ คัมภีร์แพทย์สมุนไพร ผลไม้สมุนไพรและพืชผักสวนครัว
ผลมะเฟืองเป็นยาดับร้อน ถอนพิษ ทำให้มีน้ำหล่อเลี้ยง
แก้ไอ ขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ใบมะเฟืองมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ
พอกฝีบวมแดง แก้ปวด ถูกตีฟกช้ำดำเขียว ดอกมะเฟืองต้ม
กับน้ำสามารถถอนพิษของฝิ่นได้

.................................................................................................................................................................
มะไฟ
ใบมะไฟ มีสรรพคุณแก้หวัด แก้ไอ มาลาเรีย และขับปัสสาวะ
ผลเป็นยาช่วยย่อย ละลายเสมหะ รักษาอาการท้องอืด หอบหืด
รากแก้อาการปวดท้อง เม็ดมะไฟใช้เป็นยาแก้ปวด แก้อาการ
ปวดกระเพาะ ใบมะไฟอบแห้งบดละเอียด เติมเหล้าเหลืองประมาณ
พอเหมาะ ต้มไฟอ่อนๆ แก้พิษงู สุนัขบ้ากัด

..................................................................................................................................................................
มะม่วง (Mango)
 มะม่วง ผลไม้ยอดฮิตที่นิยมบริโภคตลอดปี ไม่ว่าจะบ้านไหน เรือนไหนก็นิยมปลูกกันไว้ในรั้วบ้าน มะม่วงนอกจากจะนำมารับประทานได้หลายรูปแบบแล้วยังเป็นไม้ยืนต้นที่ให้ร่มเงาได้เป็นอยางดี ส่วนอื่นๆ ก็นำมาใช้ประโยชน์ได้ อาทิ ใบ ดอก มะม่วง มีวิตามินเอและซีสูง และยังมีสารอาหารอื่นๆ อีก เรียกได้ว่า มะม่วงลูกหนึ่งมีสารอาหารเกือบครบเลยทีเดียว โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ อาจหายไปได้โดยที่เราไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ เพราะมะม่วงก็มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรมากเหมือนกัน

สรรพคุณทางยาสมุนไพร

เมล็ดสดๆ มารับประทาน หรือนำมาโรยเกลือ รับประทานเพื่อขับปัสสาวะหรือแก้บวมน้ำ เนื้อในเมล็ดใช้แก้ท้องร่วง
ผลมะม่วง นำมาคั้นรับประทานเป็นยาขับปัสสาวะหรือร้อนใน แก้คลื่นไส้ แก้บิดถ่ายเป็นเลือด และใช้เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร
ใบมะม่วง นำมาพอประมาณต้มรับประทานแก้ซางตานขโมยในเด็ก แก้ลำไส้อักเสบ หรือใช้ใบสดๆ ตำพอกบริเวณที่เป็นแผลสด จะเป็นยาสมานแผลสดได้ดีที่เดียว
เปลือกลำต้นมะม่วง ใช้เปลือกสดๆ มาต้มรับประทานเป็นยาแก้โรคคอตีบ เยื่อปากอักเสบ จมูกอักเสบ

คุณค่าทางอาหาร

มะม่วงดิบมักออกรสเปรี้ยว เอาไปทำของคาวได้หลายอย่าง ที่เห็นบ่อยมากคือ นำไปจิ้มน้ำพริก ใช้ยำ หรือผสมอาหารที่มีรสเปรี้ยวแทนมะนาว เช่น ยำมะม่วง น้ำพริก ต้มยำ
ในส่วนที่นำไปเป็นของว่างนั้น มะม่วงดิบรับประทานเป็นมะม่วงน้ำปลาหวาน เมี่ยงส้ม มะม่วงสุกที่มีรสหวาน นำมารับประทานกับข้าวเหนียว กวนเป็นแผ่น หรือนำมาคั้นเป็นน้ำผลไม้
มะม่วงอุดมด้วยฟอสฟอรัส และแคลเซียมที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟันไม่ให้เปราะหักง่าย นอกจากนั้นยังมีวิตามินซีอยู่ในปริมาณมาก ช่วนเสริมสร้างภูมิคุ้นกันให้แข็งแรง ป้องกันโรคต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาโรคเลือดออกตามไรฟัน โรคหวัด และมีวิตามินบี 1 ป้องกันโรคเหน็บชา วิตามินบี 2 ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด

คุณค่าทางโภชนาการและอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม

พลังงาน                  67            แคลอรี่
โปรตีน                   0.5         กรัม
ไขมัน                     0.2          กรัม
คาร์โบไฮเดรต         15.7           กรัม
ใยอาหาร                2.4            กรัม
แคลเซียม               14.00            มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส              2            มิลลิกรัม
เหล็ก                       มีน้อยมาก
เบต้าแคโรทีน            37           ไมโครกรัม
วิตามีนบี 1               0.05         มิลลิกรัม
วิตามีนบี 2               0.02         มิลลิกรัม
ไนอะซีน                 0.2         มิลลิกรัม
วิตามีนซี                  35          มิลลิกรัม

ที่มา : หนังสือ คัมภีร์แพทย์สมุนไพร ผลไม้สมุนไพรและพืชผักสวนครัว
มะม่วงสดทั้งเปลือกและเนื้อ แก้เลือดออกตามเหงือก
ไอ หอบ เสมหะมาก เปลือกมะม่วงสดต้มกับน้ำ แก้ผิวหนังอักเสบ
มีผื่นแดง มีตุ่มพุพอง ตกสะเก็ด คันแสบ โดยนำน้ำที่ต้มมา
ล้างบริเวณที่เป็น เมล็ดมะม่วงต้มกับน้ำแก้ปวด เนื่องจากไส้เลื่อน
หรือเนื้อเยื่อโผล่ออกมา

...............................................................................................................................................................
มะละกอ (Papaya, Pawpaw, Tree Melon)

สรรพคุณทางยาสมุนไพร

นำผลดิบและผลสุกมาต้มกินเป็นยา ขับน้ำดี น้ำเหลือง บำรุงน้ำนม ขับพยาธิ รักษาโรคริดสีดวงทวาร ผลสุกเป็นยาแก้ท้องผูกที่วิเศษสุดๆ ถ่ายคล่องเป็นยาระบายได้อย่างดีเยี่ยม นำเนื้อสุกมาปั่น แล้วพอกหน้าทิ้งไว้ 5-10 นาที แล้วล้างออกใบหน้าจะชุ่มชื้นขึ้น

คุณค่าทางอาหาร

มะละกอสามารถนำไปประกอบอาหารต่างๆ ได้อย่างวิเศษมากมายหลายอย่าง
มะละกอดิบ  ถ้าใช้ทำเป็นอาหารยอดนิยม คงหนีไม่พ้นส้มตำ
มะละกอดิบ  หั่นเป็นแว่นๆ พอคำ นำไปแกงส้มใส่ปลาช่อนใส่กุ้ง
มะละกอสุก  นำมาปลอกเปลือกแล้วล้างให้สะอาดหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปปั่น ผสมน้ำตาล และเกลือป่น ตามอัตราส่วนที่เหมาะสม และเหมาะสำหรับคลายร้อนได้เป็นอย่างดี และมีคุณค่าทางโภชนาการอาหารอย่างมากมาย
มะละกอมีเกลือแร่ และวิตามินมาก มีคุณค่าทางอาหารไม่น้อย แคลเซียมในมะละกอช่วยป้องกันฟันผุ วิตามินซีช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน วิตามินเอช่วยในบำรุงสายตาและระบบประสาท และยังมีสารอาหารอื่นๆ อีกมาก

คุณค่าทางโภชนาการและอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม

พลังงาน                  51            แคลอรี่
ความชื้น                  86.9         กรัม
โปรตีน                    0.8           กรัม
ไขมัน                     0.3           กรัม
คาร์โบไฮเดรต         11.3         กรัม
แคลเซียม                12            มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส              22            มิลลิกรัม
เหล็ก                       2.5           มิลลิกรัม
วิตามินเอ                 1308        หน่วย
วิตามีนบี 1               0.04         มิลลิกรัม
วิตามีนบี 2               0.03         มิลลิกรัม
ไนอะซีน                  0.3           มิลลิกรัม
วิตามีนซี                  78            มิลลิกรัม

ที่มา : หนังสือ คัมภีร์แพทย์สมุนไพร ผลไม้สมุนไพรและพืชผักสวนครัว
มะละกอ มีสรรพคุณในการช่วยย่อย บำรุงกระเพาะ
บำรุงม้าม ดับร้อนแก้กระหาย แก้อาการปวดท้อง บิด
เนื้อมะละกอดิบตากแห้ง แก้เด็กผิวหนังอักเสบ มีผื่นแดง
เป็นตุ่มพุพอง แสบคัน โดยโรยบริเวณที่เป็น แต่ถ้านำมา
รับประทาน จะแก้พยาธิตัวตืด และตัวกลม ส่วนใบมะละกอตำ
ให้แหลกนำมาพอกแก้อาการถูกตีฟกช้ำ

..................................................................................................................................................................
มังคุด (Mangosteen)

สรรพคุณทางยาสมุนไพร

มังคุดนอกจากจะเป็นผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยแล้ว ก็ยังใช้เป็นยารักษาโรคได้ดีอีกด้วย
เปลือกผลมังคุดแห้ง  นำมาครึ่งผลฝนกับน้ำสุกหรือน้ำปูนใสรับประทานรักษาอาการท้องเสีย หรือนำไปดองกับเหล้ารับประทานเป็นยาแก้ท้องเสียเรื้อรังก็ได้
มังคุด  ใช้เป็นยาภายนอกได้โดยนำเปลือกมังคุดสดหรือแห้งก็ได้มาต้มกับน้ำเคี่ยวให้งวดเล็กน้อย ใช้ล้างแผลเปื่อย นอกจากนั้นเปลือกมังคุดสดหรือแห้งเมื่อนำมาฝนกับน้ำปูนใสยังสามารถรักษาบาดแผลที่เกิดจากน้ำกัดเท้าได้ด้วย
ยางสดๆ สีเหลือง  ที่ได้จากผลมังคุด ช่วยสมานแผลได้ดี หรือใช้เป็นยาแก้บิด แก้ท้องร่วงได้

คุณค่าทางอาหาร

มังคุดอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
นอกจากจะรับประทานเป็นผลไม้แล้ว ยังนำมาประกอบเป็นอาหารได้อีกด้วย เช่น เป็นกับข้าวใช้รับประทานกับไข่จารเม็ด ใช้เป็นยาดับกลิ่นหลังรับประทานทุเรียน ใช้เป็นขนมหวานโดยการกวนเป้นขนมเก็บไว้รับประทานได้อีกด้วย
สารอาหารที่ได้จากมังคุดก็เห็นจะเป็นโปรตีน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ที่ช่วยป้องกันกระดูกและฟันผุเปราะหักง่าย มีวิตามินบี 1 ช่วยในการย่อยอาหาร ช่วยในการทำงานของสมองในผู้สูงอายุ วิตามินบี 2 ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด

คุณค่าทางโภชนาการและอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม

พลังงาน                  76            แคลอรี่
โปรตีน                    0.5           กรัม
คาร์โบไฮเดรต         18.4         กรัม
ใยอาหาร                 1.7           กรัม
แคลเซียม               11            มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส              17            มิลลิกรัม
เหล็ก                       0.9           มิลลิกรัม
วิตามีนบี 1               0.09         มิลลิกรัม
วิตามีนบี 2               0.06         มิลลิกรัม
ไนอะซีน                 0.01         มิลลิกรัม

ที่มา : หนังสือ คัมภีร์แพทย์สมุนไพร ผลไม้สมุนไพรและพืชผักสวนครัว
.................................................................................................................................................................
มันแกว
มันแกว มีสรรพคุณในการทำให้เกิดน้ำหล่อเลี้ยง
แก้กระหาย รักษาโรคร้อนดับพิษ ลดไข้ ใช้เป็น
ยาแก้พิษสุราเรื้อรัง ผลมันแกว นำมารับประทาน
แก้ความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะ หน้าแดง
ร้อนกระสับกระส่าย กระหายน้ำ

...............................................................................................................................................................
เม็ดบัว
เม็ดบัว มีสรรพคุณ บำรุงประสาท บำรุงไต
รักษาอาการท้องร่วง บิดเรื้อรัง สตรีประจำเดือน
มามาก น้ำกามออกไม่รู้ตัว ต้นอ่อนในเม็ดบัว
ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยเมแรงบีบตัวของหัวใจ
แก้กระหาย อาเจียนเป็นเลือด รากบัวมีสรรพคุณห้ามเลือด
ปรับประจำเดือนให้ปกติ รักษาโรคกำเดาออก ใบบัว ดอกบัว
และฝักบัวมีฤทธิ์แก้อาการท้องร่วง

..................................................................................................................................................................
เมล็ดฟักทอง
เมล็ดฟักทองมีสรรพคุณช่วยถ่ายพยาธิได้
จึงใช้บำบัดการติดเชื้อพยาธิเส้นด้าย ซึ่งหาก
ใช้ร่วมกับหมากจะได้ผลดียิ่งขึ้น และยังสามารถ
ใช้บำบัดการติดเชื้อพยาธิปากขอและลดไข้จากการ
ติดเชื้อนี้ได้ด้วย

.................................................................................................................................................................
ละมุด (Sapodilla plum)

สรรพคุณทางยาสมุนไพร

ละมุดเป็นผลไม้ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสรรพคุณทางยาไม่แพ้หรือแตกต่างจากผลไม้ชนิดอื่นๆ
* เปลือกต้นละมุดฝรั่งนำมาต้มเป็นยาแก้บิด
* ผลละมุดสุกนำมารับประทานเป็นผลไม้ หรือเตรียมผลไม้
* ยางจากละมุดดิบใช้เป็นยาถ่ายพยาธิอย่างแรง
* เมล็ดละมุดเป็นยาบำรุง

คุณค่าทางอาหาร

ในผลละมุดจะมีน้ำตาลสูง วิตามินเอ ซึ่งช่วยบำรุงสายตา และยังมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคหวัด จำเป็นสำหรับการสร้างคอลลาเจนซึ่งมีผลต่อการสมานบาดแผล มีธาตุแคลเซียมช่วยในการสร้างกระดูกและฟัน ฟอสฟอรัส อีกทั้งยังมีวิตามินบี 1 ช่วยในการย่อยอาหาร เสริมสร้างการทำงานกล้ามเนื้อและหัวใจ และสารอาหารอื่นๆ ที่มีประโยชน์อีกมากมาย

คุณค่าทางโภชนาการและอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม

พลังงาน               71            แคลอรี่
โปรตีน                77.3         กรัม
ไขมัน                  0.8           กรัม
คาร์โบไฮเดรต         15.6         กรัม
เส้นใยอาหาร          5.6           กรัม
แคลเซียม              15            มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส              6              มิลลิกรัม
เหล็ก                   0.6           มิลลิกรัม
เบต้าแคโรทีน          22            ไมโครกรัม
วิตามีนบี 1               0.01         มิลลิกรัม
ไนอะซีน                 0.6           มิลลิกรัม
วิตามีนซี                  47            มิลลิกรัม

ที่มา : หนังสือ คัมภีร์แพทย์สมุนไพร ผลไม้สมุนไพรและพืชผักสวนครัว
สรรพคุณของมังคุดในการรักษาโรค คือ ส่วนเปลือกผล
ซึ่งมีรสฝาด ใช้แก้ท้องเสีย วิธีทำก็คือ เอาเปลือกผลตาก
แห้งแล้วต้มกับน้ำปูนใสนำมาดื่ม นอกจากนี้ยังใช้รักษา
บาดแผลได้ โดยเอาเปลือกมังคุดตากแห้งฝนกับน้ำปูนใส
ใช้ทาแผลพุพอง แผลเน่าเปื่อยเนื่องจากส่วนของเปลือกมี
สารแบงโคสตินต่อต้านการอักเสบ มีสารแซบทานต่อต้าน
เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เป็นหนองได้
.................................................................................................................................................................
ลำไย
เนื้อลำไยแห้งจำนวนพอเหมาะผสมกับน้ำตาลอ้อย
ต้มกับไข่ไก่เป็นของหวาน รับประทานเป็นยาบำรุงเลือด
บำรุงกำลัง ช่วยย่อยอาหาร บำรุงไตสำหรับสตรีตั้งครรภ์
เนื้อลำไยแห้งเติมน้ำตาลทรายเคี่ยวรับประทานแก้ประสาทอ่อน
ประสาทเครียด ขี้หลงขี้ลืมและนอนไม่หลับ

...............................................................................................................................................................
ลิ้นจี่ (Lychee, Litchi)

สรรพคุณทางยาสมุนไพร

ลิ้นจี่ เป็นผลไม้ที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรคได้อีกชนิดหนึ่ง
เมล็ด  นำมาบดให้เป็นผงละเอียดเป็นยาสมานระงับความเจ็บปวดในกระเพาะอาหาร
เนื้อในผล  รับประทานเป็นยาบำรุง และรักษาอาการท้องเดิน

คุณค่าทางอาหาร

ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่มีรสหวานอมเปรี้ยว มีความหอมอยู่มากเพียงแค่ได้กลิ่นก็หอมสดชื่น ลิ้นจี่ส่วนมากมักนำมาทำเป็นน้ำผลไม้ปั่น แล้วแช่เย็นไว้ดื่มเพื่อกระหาย  รสชาติอร่อยชื่นฉ่ำใจ
ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วย วิตามิน และน้ำตาล มีน้ำมันหอมระเหย และมีกรดอินทรีย์บางชนิด วิตามินบี 1 ในลิ้นจี่ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา วิตามินบี 2 ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด แคลเซียมเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง อีกทั้งยังมีไนอะซีนช่วยเปลี่ยนน้ำตาลและไขมันให้เป็นพลังงาน ช่วยในระบบย่อยอาหาร ส่วนที่เป็นเมล็ดยังสามารถทำเป็นยาระบายความเจ็บปวดในกระเพาะอาหารได้ด้วย

คุณค่าทางโภชนาการและอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม

พลังงาน                  57            แคลอรี่
โปรตีน                    0.9           กรัม
ไขมัน                     0.1           กรัม
เส้นใยอาหาร          0.1           กรัม
เหล็ก                     1.3           มิลลิกรัม
คาร์โบไฮเดรต         13.1         กรัม
แคลเซียม                 7              มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส              41            มิลลิกรัม
วิตามีนบี 1               0.11         มิลลิกรัม
วิตามีนบี 2               0.04         มิลลิกรัม
ไนอะซีน                  0.3           มิลลิกรัม
 ที่มา : หนังสือ คัมภีร์แพทย์สมุนไพร ผลไม้สมุนไพรและพืชผักสวนครัว
ลิ้นจี่ และพุทราจีนต้มกับน้ำ แก้ม้าพร่อง ท้องร่วงเรื้อรัง
รากต้นลิ้นจี่สดต้มกับน้ำตายอ้อยจำนวนพอเหมาะรับประทาน
แก้กระเพาะเย็น ท้องอืด ปวดท้อง ลิ้นจี่ตากแห้ง และผักชีล้อม
คั่วจนเกรียม บดให้ละเอียดผสมเหล้าเหลืองอุ่นๆ แก้เยื้อหุ้ม
ลูกอัณฑะบวมอักเสบ

.................................................................................................................................................................
ลูกเกาลัด
ลูกเกาลัดสด รับประทานแก้โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
และนอกจากนี้ ลูกเกาลัดต้มกับน้ำตาลทราย และหนวดข้าวโพด
แก้เด็กไอกรน ใช้เปลือกลูกเกาลัดคั่วจนกรอบ บดเป็นผงผสม
กับข้าวแล้วต้มเป็นข้าวต้มแก้เลือดกำเดาไหลเป็นประจำ
เดี๋ยวเป็นเดี๋ยวหาย

..................................................................................................................................................................
ลูกพลับ
มีสรรพคุณบำรุงร่างกายที่อ่อนเพลีย ช่วยย่อยอาหาร
ทำให้ปอดชุ่มชื้น ขับเสมหะแก้ไอ ทำให้มีน้ำหล่อเลี้ยง
แก้กระหาย และแก้พิษจากสุรา ส่วนลูกพลับที่ปอกเปลือกแล้ว
จะมีฤทธิ์ในการลดความดันเลือด ห้ามเลือด

.................................................................................................................................................................
ลูกหว้า
ผลของลูกหว้า ต้มกับน้ำแก้อาการหอบหืดจากอากาศเย็น
หรืออาการแพ้ต่างๆ ลูกหว้าตากแห้งบดเป็นผงต้มกับหมู
แก้วัณโรคปอด ส่วนเปลือกหุ้มลำต้น ใช้ดับร้อน ถอนพิษ
และแก้อาการท้องร่วง บิด

..................................................................................................................................................................
สตรอเบอรี่
สตรอเบอรี่นั้นจะให้คุณค่าของวิตามิน เอ บี
และเป็นแหล่งของวิตามิน ซี มีสรรพคุณในการ
รักษาป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ซึ่งเราเรียกว่า
...ลักปิดลักเปิด

---------------------------------------------------------------------------------------------------------
บ้านคนรักสุนทราภรณ์