ไปที่เว็บ_พระไตรปิฏกฉบับอ่าน..

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สมุนไพรผลไม้ชนิดต่างๆ 04


สมอไทย (
Myrobalan Wood, Chebulic Myrobalans)

สรรพคุณทางยาสมุนไพร

สมอไทยเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตอนใต้ของเรานี้เอง  โดยเฉพาะในป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้งจะพบเห็นขึ้นอยู่มาก สมอไทยนำมาผลมาบดให้ละเอียดใช้โรยแผลที่เรื้อรัง
ผลอ่อนสมอไทย ใช้เป็นยาระบายได้ดี
ผลแก่สมอไทย เป็นยาสมานแผล แก้จุกเสียด แก้เจ็บคอ ขับน้ำเหลืองที่เสียและเป็นยาเจริญอาหาร
เปลือกสมอไทย เป็นยาขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ ขับน้ำเหลือง

คุณค่าทางอาหาร

สมอไทยนอกจากจะนำมาเป็นยาสมุนไพรแล้ว เรายังนำมาเป็นส่วนผสมในน้ำผลไม้รวมได้อีกด้วย โดยนำเอาเฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อนำมาปั่นรวมกับผลไม้อื่น
แคลเซียมในสมอไทยช่วยในการบำรุงกระดูกและฟัน วิตามินเอช่วยในการบำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ และวิตามินซีสร้างแรงยืดหยุ่นให้ผิวหน้า ป้องกันดรคลักปิดลักเปิด

คุณค่าทางโภชนาการและอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม

พลังงาน                  53            แคลอรี่
โปรตีน                    85.9         กรัม
ไขมัน                     1.7           กรัม
คาร์โบไฮเดรต         8.2           กรัม
แคลเซียม                18            มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส                18            มิลลิกรัม
เหล็ก                       มีน้อยมาก
วิตามินเอ                 500221    หน่วย
วิตามีนบี 2               0.01         มิลลิกรัม
ไนอะซีน                  2.0           มิลลิกรัม
วิตามีนซี                  116          มิลลิกรัม

ที่มา : หนังสือ คัมภีร์แพทย์สมุนไพร ผลไม้สมุนไพรและพืชผักสวนครัว
สมอ
สมอช่วยให้ปอดทำงานดีขึ้น แก้พิษปลาปักเป้า
และตะพาบน้ำได้ สมอสดจะช่วยให้มีน้ำลาย
แก้กระหายน้ำ ส่วนน้ำสมอจะช่วยลดอาการของ
โรคในช่องปาก หลอดคอ รวมทั้งอาการเจ็บคอได้

...............................................................................................................................

ส้มโอ (Pummelo)

สรรพคุณทางยาสมุนไพร

สรรพคุณทางยาในส้มโอนั้นมีอยู่มิใช่น้อยเลย ส้มโอนั้นสามารถป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยระบาย บำรุงหัวใจ แก้ไอ และขับเสมหะ
ผลส้มโอ ขับลมในลำไส้ แก้เมาเหล้า เปลือกผลของส้มโอจะช่วยขับเสมหะ จุกแน่นหน้าอก แก้ไส้เลื่อน
ใบส้มโอ นำมาต้มพอกศีรษะแก้ปวดหัว นอกจากนั้นยังเป็นยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้ออีกด้วย
ดอกส้มโอ แก้อาการปวดกระบังลม และปวดในกระเพาะอาหาร
เมล็ดส้มโอ ก็มีประโยชน์อยู่มากเช่นกัน แก้ไส้เลื่อน ลำไส้หดตัว แก้หวัด แก้ไอ แก้ปวดท้องน้อยและกระเพาะอาหารได้อย่างมหัศจรรย์

คุณค่าทางอาหาร

ส้มโอนั้นนอกจากจะเป็นยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณอยู่มากแล้ว ยังนำมาประกอบอาหารจานเด็ดมากด้วยคุณค่าได้อีกเช่นกัน
ส้มโอ นำมาผสมกับน้ำเชื่อม ทำลอยแก้ว
ส้มโอ นำมาคั้นทำน้ำผลไม้ดื่มแก้กระหาย
ส้มโอนำมาทำเป็นอาหารหรือกับแกล้มรสเด็ด อย่างเช่น ยำส้มโอ
ส้มโอมีวิตามินและแร่ธาตุช่วยบำรุงร่างกายให้แข้งแรง อาทิ โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต, แคลเซียม ซึ่งช่วยบำรุงกระดูกและฟัน, เหล็ก, ฟอสฟอรัส, วิตามินบี 1 ช่วยในการย่อยอาหาร เสริมสร้างการทำงานของกล้ามเนื้อและหัวใจ, วิตามินบี 2 ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด และวิตามินซีที่มีากจะช่วยในการป้องกันเลือดออกตามไรฟัน และป้องกันโรคหวัดได้ดี

คุณค่าทางโภชนาการและอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม

พลังงาน                  41            แคลอรี่
โปรตีน                    0.5           กรัม
ไขมัน                     0.4           กรัม
คาร์โบไฮเดรต         8.8           กรัม
เส้นใยอาหาร          0.7           กรัม
แคลเซียม               9              มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส              21            มิลลิกรัม
เหล็ก                    มีน้อยมาก
วิตามินเอ                 26            หน่วย
วิตามีนบี 1               0.07         มิลลิกรัม
วิตามีนบี 2               0.02         มิลลิกรัม
ไนอะซีน                0.4           มิลลิกรัม
วิตามีนซี                  60            มิลลิกรัม

ที่มา : หนังสือ คัมภีร์แพทย์สมุนไพร ผลไม้สมุนไพรและพืชผักสวนครัว
สรรพคุณของส้มโอที่สำคัญ คือ ละลายเสมหะ
แก้ไอ บำรุงกระเพาะ ช่วยย่อย ลดบวม แก้ปวด
สตรีแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน รับประทาน
เปลือกส้มโอต้มดื่มแทนน้ำ

...........................................................................................................
ส้มเช้ง
เนื้อของส้มเช้ง ใช้แก้อาการสตรีเต้านมบวมแดง
ปวดเป็นก้อนแข็ง ทำให้นมไม่สามารถไหลออกได้
มีไข้หนาว ให้เอาส้มเช้งสดคั้นเอาน้ำดื่มกับสุรา
สารสกัดจากเม็ดส้มเช้งใช้รักษาโรคมาลาเรียได้ด้วย

................................................................................
ส้มจีนสรรพคุณทำให้ปอดชุ่มชื้น แก้ไอ ละลายเสมหะ
ทำให้เลือดลมเดินสะดวก แก้กระหาย เหมาะที่จะ
ใช้กับผู้ที่ร่างกายอ่อนแอ ผู้ป่วยโรคร้อนที่ทำให้น้ำ
และของเหลวในร่างการมีไม่เพียงพอ นอกจากนี้ยังมี
ผลต่อการรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง
โรคกระเพาะเรื้อรัง อาหารไม่ย่อย

...................................................................................................................................
สับปะรด (Pineapple)

สรรพคุณทางยาสมุนไพร

สรรพคุณทางยาของสับปะรดมีอยู่มากเช่นกัน เพียงแค่รับประทานสับปะรดเข้าไปเพียง 1-2 ชิ้น ก็เหมือนกับได้รับประทานยาช่วยย่อยอาหาร ทำให้ระบบอาหารเป็นปกติ ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงสุขภาพอีกด้วย สับปะรดมีคุณสมบัติทางการรักษาโรคดังนี้
ใบสับปะรด  นอกจากจะเป็นยาขับปัสสาวะแล้วยังเป็นยาถ่ายอ่อนๆ ด้วย
เหง้า  เป็นยาขับปัสสาวะ  แก้นิ่ว
เนื้อผล  เป็นยาแก้ไข้ ขับเสมหะ
ลำต้นและผล  มีเอนไซม์ย่อยโปรตีน Brome lain ซึ่งใช้เป็นยาลดการอักเสบและบวมจากการถูกกระแทกบาดแผลหรือการผ่าตัดได้

คุณค่าทางอาหาร

ประโยชน์ที่ได้จากสับปะรดโดยตรงคือนำมารับประทานเป็นผลไม้ประจำวัน ปรุงเป็นอาหารคาวได้ เป็นเครื่องเคียงกับอาหารบางประเภท หรือนำมาแปรรูปในเชิงอุตสาหกรรมเป็นสับปะรดกระป๋อง สับปะรดกวน ทำแยมสับปะรด หรือเตรียมเป็นน้ำสับปะรดได้ เป็นเครื่องดื่มก็ได้
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันได้นำเอนไซม์ที่สกัดจากสับปะรดมาผลิตเป็นยาเม็ด ใช้เป็นยาแก้อักเสบอีกด้วย
สับปะรดราคาไม่แพง คุณค่าทางอาหารก็ได้มาก อาทิ ให้โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ฟอสฟอรัส แคลเซียม ช่วยในการบำรุงกระดูกและฟัน วิตามินบี 1 ป้องกันโรคเหน็บชา ไม่มีแรงช่วยในการย่อยอาหาร วิตามินบี 2 ป้องกันไขมันอุดต้นในเส้นเลือด และวิตามินซี ช่วยสมานแผล ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน แก้หวัด

คุณค่าทางโภชนาการและอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม

พลังงาน                47            แคลอรี่
โปรตีน                  0.7           กรัม
ไขมัน                   0.3           กรัม
คาร์โบไฮเดรต         11.6         กรัม
เส้นใยอาหาร          1.2           กรัม
แคลเซียม              4.48         มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส              11.34       มิลลิกรัม
เหล็ก                   0.27         มิลลิกรัม
เบต้าแคโรทีน          1.83         ไมโครกรัม
วิตามีนบี 1               0.06         มิลลิกรัม
วิตามีนบี 2               0.03         มิลลิกรัม
ไนอะซีน               0.3           มิลลิกรัม
วิตามีนซี                  22            มิลลิกรัม

ที่มา : หนังสือ คัมภีร์แพทย์สมุนไพร ผลไม้สมุนไพรและพืชผักสวนครัว
สับปะรด
สรรพคุณช่วยย่อยอาหารจำพวกเนื้อ เสริมการดูดซึมอาหาร
ดับร้อนแก้กระหาย ถ้ารับประทานสับปะรดเป็นประจำ จะช่วย
ป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ ความดันโลหิตสูง ไตอักเสบ

................................................................................................................................
สาลี่
มีสรรพคุณช่วยย่อย ดับร้อน แก้ไอละลายเสมหะ
รักษาโรคหลอดลมอักเสบ นอกจากนี้ยังฤทธิ์บำรุงกระเพาะ
บำรุงปอดด้วย และลูกสาลี่หั่นเป็นชิ้นบางๆ แช่ในน้ำส้มซีอิ๊ว
รับประทานแก้ดีซ่าน

..............................................................................................................................
หมาก
มีฤทธิ์ในการขับพยาธิได้หลายชนิด เช่น
พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด พยาธิตัวกลม
ยังใช้แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ โรคติดเชื้อราที่เท้า
มาลาเรีย เปลือกที่ปอกออกมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ
แก้อาการบวมน้ำ

.................................................................................................................................
แห้ว
แห้วมีสรรพคุณดับร้อน แก้กระหาย ช่วยย่อยอาหาร
ละลายเสมหะ บำรุงกำลัง ทำให้ตาแจ่มใส แก้อาการคอแห้ง
เจ็บคอ แก้พิษสุรา ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง นอกจากนี้
รับประทานแห้วสด แก้ริดสีดวงทวารอีกด้วย

.................................................................................................................................
องุ่น (Grap Vine)

สรรพคุณทางยาสมุนไพร

องุ่นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวชุ่ม มีสรรพคุณทางยามากมาย ไม่แพ้ผลไม้ชนิดอื่นๆ เช่นกัน
ผล  นำมาต้มน้ำหรือดื่มน้ำรับประทาน หรือแช่เหล้าบำรุงเลือด บำรุงกำลังไต ช่วยให้กระดูกแข็งแรง แก้ไอ เหงื่อออกเนื่องจากหัวใจไม่ปกติ ปวดข้อ หนองใน ตัวบวมช้ำขับปัสสาวะ
ราก  นำรากองุ่นสด หญ้าคา ใบสน ดอกเต้าฮวย รากไชเข่า  รากบัวหลวงอย่างละ 15 กรัม  และเนื้อสัตว์ต้มรับประทานแก้อาเจียนเป็นเลือด หรือนำรากสด 60-90 กรัม ขาหมูบริเวณเล็บ 1 ขา หรือหลีฮื้อ 1-2 ตัว ใส่น้ำพอสมควรต้มใส่น้ำ และใส่หลักอย่างเท่าๆ กัน นอกจากนั้นรากสดขององุ่นยังนำมาตำพอกรักษากระดูกหักได้เช่นกัน
ยอดอ่อน  นำมารวมกับแมลงโล่งโกว ตัดหางออกแล้วตากน้ำค้าง 7 วัน ตากแห้งแล้วนำมาบดผสมเหล้าองุ่นรับประทานแก้ตัวบวม

คุณค่าทางอาหาร

ในองุ่นมีโปรแตสเซียม ฟอสฟอรัส เกลือแร่ วิตามิน และน้ำตาลกลูโคลส ฟรุกโตส ที่ทำให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า
เรานำองุ่นมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตไวน์ชนิดต่างๆ เช่น ไวน์แดง ไวน์ขาว นำมาตากแห้งเป็นลูกเกด เพื่อใช้แต่งหน้าขนมปังหรือขนมต่างๆ ให้ดูสวยงาม
องุ่นมีน้ำตาลสูง มีวิตามินเอซึ่งช่วยบำรุงสายตา ป้องกันผิวหนัง และวิตามินซีที่ช่วยป้องกันโรคหวัด เลือดออกตามไรฟัน และยังป้องกันโรคมะเร็งได้อีกด้วย

คุณค่าทางโภชนาการและอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม

น้ำตาล
* วิตามินเอ
วิตามินซี
ฟอสฟอรัส
แคลเซียม

ที่มา : หนังสือ คัมภีร์แพทย์สมุนไพร ผลไม้สมุนไพรและพืชผักสวนครัว
องุ่นมีสรรพคุณในการบำรุงสมอง บำรุงหัวใจ ขับปัสสาวะ
แก้กระหาย บำรุงกำลัง รากองุ่นสดต้มกับน้ำแก้โรคตับอักเสบ
ดีซ่าน และอาการปวดจากข้ออักเสบ ถ้าดื่มเหล้าองุ่นจำนวน
พอเหมาะเป็นประจำ จะแก้โรคโลหิตจาง เวียนศีรษะ และใจสั่น

..................................................................................................................................
อ้อย
สรรพคุณที่สำคัญของอ้อย คือ ใช้เป็นยาดับร้อน
บำรุงกระเพาะ ช่วยย่อยอาหาร ใช้รักษาโรคอ้วน
ขาดน้ำหล่อเลี้ยง แก้กระหายน้ำ คลื่นไส้อาเจียน
ไอแห้ง ท้องผูก แก้อาการกระสับกระส่ายหลังดื่มสุรา

..................................................................................................................................
แอปเปิ้ล
แอปเปิ้ลมีสรรพคุณเป็นทั้งยาระบาย และโรคท้องร่วง
ทั้งนี้เพราะว่า แอปเปิ้ลมีวิตามินอยู่เป็นจำนวนมาก
และช่วยปรับสมดุลระบบการย่อยอาหาร นอกจากนี้
แอปเปิ้ลยังช่วยลดความดันโลหิตสูง

..................................................................................................................................
บ้านคนรักสุนทราภรณ์