ไปที่เว็บ_พระไตรปิฏกฉบับอ่าน..

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สมุนไพรไทย

หัวข้อเปิดดูรายการต่างๆในกรอบข้างล่างนี้
 
กระดังงา
ชื่ออื่นกระดังงา กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ สะบันงา สะบันงาต้น
รูปลักษณะ

ไม้ยืนต้น สูง 8-15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา กิ่งมักจะลู่ลง
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 5-7 ซม. ยาว 13-20 ซม.
ขอบใบเป็นคลื่น ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบ กระจุกละ 4-6 ดอก
กลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลเป็นกลุ่มผล ผลแก่
จะเปลี่ยนจากสีเหลืองอมเขียวเป็นสีดำ

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ดอก - มีน้ำมันหอมระเหย ใช้ทอดกับน้ำมันมะพร้าว ทำน้ำมันใส่ผม
ใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งเจ็ด

......................................................................................
 
ขมิ้นชัน

ชื่อท้องถิ่น ขมิ้น (ทั่วไป)
ขมิ้นแกง, ขมิ้นหยวก, ขมิ้นหัว (เชียงใหม่),หมิ้น (ภาคใต้)

ลักษณะ พืชล้มลุกมีเหง้าอยู่ใต้ดินเนื้อในของเหง้า ขมิ้นชันสีเหลืองเข้ม
จนสีแสดจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบรูปเรียวยาว ปลายแหลมคล้ายใบ
พุทธรักษา ดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อแทงจากเหง้าโดยตรง ออกตรงกลาง
ระหว่างใบคู่ในสุด ดอกสีขาว มีแถบสีเหลืองคาด มีกลีบประดับสีขาวหรือเขียว
การปลูก ขมิ้นชันชอบอากาศค่อนข้างร้อน และมีความชุ่มชื้นในเวลากลางคืน
ชอบดินร่วนซุยที่ระบายน้ำได้ดี วิธีปลูกใช้เหง้าแก่ ที่อายุ 11-12 เดือน เป็น
ท่อนพันธุ์ เก็บใช้ในช่วงอายุ 9-10 เดือน ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าสดและแห้ง
สรรพคุณยาไทยเหง้าของขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา ลดการ อักเสบ
และ มีฤทธิ์ในการ ขับน้ำดี น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นชัน มีสรรพคุณบรรเทา
อาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุดเสียด
วิธีใช้ อาการแพ้อักเสบ แผล ฝีพุพอง แมลงสัตว์กัดต่อยภายนอก ใช้เหง้ายาว
ประมาณ 2 นิ้ว ฝนกับน้ำต้มสุกทาบริเวณที่เป็น วันละ 3 ครั้ง หรือใช้ผงขมิ้น
โรยทาบริเวณที่มีอาการ ผื่นคันจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ อาการ ท้องอืด
ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียดและอาหารไม่ย่อย ใช้เหง้าขมิ้น ไม่ต้องปอกเปลือก
หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดดจัด ๆ สัก 1-2 วัน บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้ง
ปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย รับประทานครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง
หลังอาหารและก่อนนอนถ้ามีอาการท้องเสียให้หยุดยาทันที

ข้อมูล
ทางวิทยาศาสตร์ กองวิจัยและพัฒนาสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข ได้ศึกษาว่า ขมิ้นชันไม่มีพิษที่รุนแรง ทั้งในการใช้ระยะสั้น
และระยะยาว นอกจากนี้ ยังวิเคราะห์พบว่า น้ำมันหอมระเหย เป็นสารสำคัญ
ในการออกฤทธิ์รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ โดยได้ทำการศึกษา ทดลองใน
โรงพยาบาลชุมชน 5 แห่ง และโรงพยาบาลทั่วไป 1 แห่ง ในผู้ป่วยที่มีอาการต่าง ๆ
ได้แก่ ปวดแสบท้องเวลาหิว จุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ เนื่องจากมีลมในกระเพาะอาหาร
จุกเสียดท้อง เนื่องจากมีลมในกระเพาะอาหารและ ลำไส้ ผลจากการศึกษาเป็นที่น่า
พอใจ ผู้ป่วยที่ได้รับขมิ้นชันมีอาการดีขึ้น และไม่พบ ผลแทรกซ้อนในการใช้
จากการศึกษานี้พอสรุปได้ว่า ขมิ้นชันมีประสิทธิภาพดีในการใช้ จึงสมควรที่จะเผยแพร่
และพัฒนาเป็นยาต่อไป

.........................................................................................................................
 
ขี้เหล็ก
ชื่ออื่นขี้เหล็กบ้าน ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง) ยะหา (ปัตตานี) ผักจี้ลี้ (ฉานแม่ฮ่องสอน) แมะขี้เหละพะโคะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ขี้เหล็กแก่น

รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาว 4 ซม. ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแกมเขียว ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง ผลเป็นฝัก แบบยาวและหนา

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ รสขม ถ่ายพรรดึก ถ่ายกระษัย ถ่ายพิษไข้ พิษเสมหะ ขับปัสสาวะ
แก้ระดูขาว แก้นิ่ว ตำพอกแก้เหน็บชา แก้บวม บำรุงโลหิต
ดับพิษโลหิต ดองสุราดื่มก่อนนอน แก้นอนไม่หลับ
ใบอ่อน, ดอกตูมและแก่น - มีสารกลุ่มแอนทราควิโนนหลายชนิด จึงมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ใช้ใบอ่อนครั้งละ 2-3 กำมือ ต้มกับน้ำ 1-1.5 ถ้วย เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว นอกจากนี้ยังพบสารซึ่งมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ทำให้นอนหลับ โดยใช้วิธีนำมาดองเหล้า ดื่มก่อนนอน
ดอก รสขม แก้โรคประสาท แก้นอนไม่หลับ แก้หืด แก้รังแค เป็นยาระบาย
ฝัก รสขม แก้ไข้พิษเพื่อปิตตะ ไข้เพื่อเสมหะ
เปลือกฝัก รสขมเฝื่อน แก้เส้นเอ็นตึง แก้กระษัย
เปลือกต้น รสขม แก้กระษัย แก้ริดสีดวงทวาร
กระพี้ รสขมเฝื่อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้เพื่อดี แก้กระษัยเส้นเอ็น
แก่น รสขมเฝื่อน ถ่ายพิษถ่ายเส้น ถ่ายม้าม แก้กระษัย แก้เหน็บชา
แก้ไข้เพื่อกระษัย ขับโลหิต แก้เตโชธาตุพิการ ทำให้ตัวเย็น แก้แสบตา
แก้กามโรค หนองใส
ราก รสขม แก้ไข้ แก้ไข้กลับ ไข้ช้ำ รักษาแผลกามโรค

..............................................................................................................................
 
ตะไคร้หอม
ชื่อท้องถิ่นตะไคร้แดง จะไคมะขูด ตะไครมะขูด คาหอม ไคร จะไคร เซิดเกรย
ตะไคร้ ห่อวอตะโป่ หัวสิงโต เหละเกรย Lapine, Lemongrass,
West Indian lemongrass
ลักษณะพืชพืชล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้า ลำต้นตั้งตรง สูง 2 เมตร ออกเป็นกอ
ใบเกลี้ยง รูปยาวแคบ กว้าง 5-20 มม. ยาวได้ถึง 1 เมตร มีกลิ่นหอม
ตรงรอยต่อระหว่างใบกับกาบ มีแผ่นรูปไข่ปลายตัดยื่นออก
มา ยาวประมาณ 2 มม. มีขนกาบหุ้มติดทน กาบล่างสุดเกยซ้อนกัน เมื่อแห้งจะม้วนขึ้น ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ยาวได้ถึง 80 ซม.
มีใบประดับ ลักษณะคล้ายกาบ ยาวประมาณ 25 มม. รองรับอยู่ ช่อดอกแยกเป็นหลายแขนง แต่ละแขนงมีช่อย่อย 4-5 ช่อ ผลแห้ง
ไม่แตก ตะไคร้หอมมีลักษณะส่วนใหญ่คล้ายกับตะไคร้กอ ต่างกัน
ที่กลิ่น ต้นและใบยาวกว่าตะไคร้กอมาก แผ่นใบกว้างยาวและนิ่มกว่า
เล็กน้อย

การปลูก ใช้หน่อหรือเหง้าชอบขึ้นในดินร่วนซุย น้ำไม่ขัง ชอบแดดมาก
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบและกาบใบ

สรรพคุณ
ยาไทย ต้นแก้ริดสีดวงในปาก (คือปากแตกระแหง เป็นแผลในปาก) สตรีมีครรภ์รับประทาน ทำให้แท้ง บีบรัดมดลูก ขับลมในลำใส้ แก้แน่น
ตะไคร้หอมได้ถูกนำมาใช้ไล่แมลง อย่างแพร่หลายนานมาแล้ว โดยละลายน้ำมันตะไคร้หอม 7 ส่วน ผสมในแอลกอฮอล์ (70%) 93 ส่วน
ฉีดพ่นหรือตำใบสดหมักในแอลกอฮอล์ใน อัตราส่วน 1:1 ทาตรงขอบ
ประตู ที่ปิดเปิดเสมอ หรือชุบสำลีแขวนเอาไว้หน้าประตูเข้าออก หรือใช้ใบตะไคร้หอม มัดแล้วทุบให้ช้ำวางใว้ตามมุมห้องหรือใต้เตียง

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
ใบและกาบใบมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมี Geraniol และ Citronellal
เป็นส่วนประกอบสำคัญ มีฤทธิ์ในการไล่แมลง

...................................................................................................................
 
มะละกอ
ชื่ออื่นก้วยลา (ยะลา), แตงต้น (สตูล), มะก้วยเทศ (เหนือ),
ลอกอ (ใต้) หมักหุ่ง, มะเต๊ะ (ปัตตานี)

รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น สูง 3 - 6 เมตร ไม่มีแก่น ต้นอวบน้ำ มียางขาว
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รอบต้นบริเวณยอดรูปฝ่ามือเว้าเป็นแฉก
ลึก 7 แฉก ขนาดใหญ่ ดอก มีหลายประเภท คือดอกตัวผู้
ดอกตัวเมีย และดอกสมบูรณ์เพศเป็นดอกเดี่ยว หรือช่อ
2 - 3 ดอก สีนวล
ผล เป็นผลสด รูปยาวรี ทรงกระบอก หรือกลม เมล็ดสีดำ

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
รากและก้านใบ - ขับปัสสาวะ ยางขาวจากผลดิบมีเอ็นไซม์
ย่อยโปรตีน ได้แก่ papain และ chymopapain ใช้ย่อย
เนื้อสัตว์ให้เปื่อย นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง
ในอุตสาหกรรมยาใช้เอ็นไซม์ผลิตเป็นยาเม็ด
ลดอาการบวม
การอักเสบจากบาดแผล หรือการผ่าตัด ตำพอกแผลเรื้อรัง
ฝีหนอง

..........................................................................................................
 
มะกรูด
ชื่อท้องถิ่น มะขูด มะขุน ส้มกรูด ส้มมั่วผี

ลักษณะ มะกรูดเป็นพืชที่ใช้เป็นเครื่องเทศมานานแล้ว โดยใช้ผิวของผล
เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงหลายชนิด ใช้เข้าเครื่องหอมโดยเป็นส่วนผสม
ในเทียนอบ ใบมะกรูดมีกลิ่นหอมใช้แต่งกลิ่นในอาหารคาวหลายชนิด
เช่น ต้มยำ แกงเผ็ด น้ำมะกรูดใช้ปรุงอาหารเพื่อให้มีรสเปรี้ยวและดับกลิ่น
คาวปลาคนโบราณนิยมสระผมด้วยน้ำมะกรูด เพราะช่วยให้
ผมดำเป็นมัน
ไม่แห้งกรอบ
คนไทยนิยมปลูกมะกรูดไว้ตามบ้านและในสวน มะกรูด
เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็ก ใบมีกลิ่นหอม ผลค่อนข้างกลม ผิวขรุขระมีปุ่มนูน
และมีจุกที่หัวของผล ส่วนที่ใช้ คือ ใบและผล

สารสำคัญ ในใบและผลมะกรูด เมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำจะให้น้ำมันหอม
ระเหยในปริมาณ 0.08 % และ4 % ตามลำดับ น้ำมันหอมระเหยจากผิว
มะกรูดมักประกอบด้วยเบต้า-ไพนีน, ไลโมนีนและซาบินีน เป็นสารหลัก
ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากใบจะประกอบด้วย ซีโทรเนลลาล, ไอโซพูลิโกล
และไลนาลูออล เป็นสารหลัก ส่วนในน้ำมะกรูดมีกรดซิตริก ไวตามินซี
และกรดอินทรีย์ชนิดอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบ

...................................................................................................................
 
ว่านหางจระเข้
ชื่ออื่น ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ), หางตะเข้ (ภาคกลาง)

รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ข้อและปล้องสั้น ใบเดี่ยว
เรียงรอบต้น กว้าง 5-12 ซม. ยาว 0.3-0.8 เมตร อวบน้ำมาก
สีเขียวอ่อนหรือสีเขียวเข้ม ภายในมีวุ้นใส ใต้ผิวสีเขียวมีน้ำยาง
สีเหลือง ใบอ่อนมีประสีขาว ดอกช่อ ออกจากกลางต้น ดอกย่อย
เป็นหลอดห้อยลง สีส้ม บานจากล่างขึ้นบน ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
วุ้นสด - ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง วิธีใช้ให้เลือกใช้ใบล่างสุด
ของต้นก่อน ล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวออกด้วยมีดสะอาด
ล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด เพราะอาจระคายเคืองผิวหนัง
และทำให้มีอาการแพ้ได้ ฝานเป็นแผ่นบางปิดแผล หรือขูดเอา
วุ้นใสปิดพอกรักษาแผลสด แผลเรื้อรัง แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
แผลไหม้เกรียมจากแสงแดด และรังสี ทาผิวรักษาสิวฝ้า และ
ขจัดรอยแผลเป็น อาจใช้ผ้าพันแผลที่สะอาดพันทับ เปลี่ยนวุ้น
ใหม่วันละครั้ง เช้า-เย็น จนกว่าแผลจะหาย ใช้วุ้นสดกินรักษา
แผลในกระเพาะอาหารได้ดี และใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง
หลายประเภท เช่น
แชมพูสระผม สบู่ ครีมกันแดด เป็นต้น
สารที่ออกฤทธิ์เป็นกลัยโคโปรตีน ชื่อ aloctin A ซึ่งมีฤทธิ์
ลดการอักเสบ และเพิ่มการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อบริเวณ
ที่เป็นแผล แต่มีข้อเสีย คือ สลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน
ไม่ควรทิ้งวุ้นสดไว้เกิน 24 ชั่วโมง น้ำยางสีเหลืองจากใบ - เคี่ยวให้
แห้ง เรียกว่า "ยาดำ" เป็นยาระบายชนิดเพิ่มการบีบตัวของลำไส้ใหญ

......................................................................................................
 
อัญชัน
ชื่อท้องถิ่น เอื้องชัน (ภาคเหนือ) แดงชัน (เชียงใหม่)


ลักษณะ
เป็นพืชล้มลุก มีลักษณะเป็นเถาเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ต่าง ๆ
ใบเป็นใบประกอบออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 5-7ใบ ลักษณะกลมโตคล้ายพุทรา
เนื้อใบด้านบนเรียบ ปลายใบมน มีกระดูกใบเห็นได้ชัดเจนดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามข้อ
หรือซอกใบ ลักษณะคล้ายดอกถั่ว ซึ่งมีชนิดดอกชั้นเดียว และดอก 2 ชั้น มีหลายสี ทั้งสีม่วง
สีน้ำเงิน และสีขาว ฝักมีขนาดเล็กค่อนข้างแบน มีเมล็ดอยู่ภายใน

แหล่งที่พบ
พบได้ตามทั่วไปตามที่รกร้าง และนิยมปลูกตามบ้านเรือนเพื่อเป็นไม้ประดับ
สารที่พบ
ในดอกมีสารแอนโทไวยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารที่ให้สีแดงและสีน้ำเงิน
มีคุณสมบัติเป็นอิดิเคเตอร์ (Indicator) เช่นเดียวกับ ลิสมัส (Litmus)

สรรพคุณ
รากมีรสเย็นจืดใช้เป็นยาขับปัสสาวะพิการเป็นยาระบาย ช่วยบำรุงดวงตา แก้ตาอักเสบ ตาฟาง
ตาแฉะ โดยนิยมใช้รากต้นอัญชัน ชนิดดอกสีขาว นอกจากนี้ถ้านำรากมาถูฟันจะทำให้ฟันคงทน
แข็งแรงและแก้อาการปวดฟันได้ดี เมล็ดใช้เป็นยาระบาย ซึ่งใช้ชนิดดอกสีนำเงินและดอกสีขาว
ส่วนดอกสดนำมาทาศีรษะเพื่อใช้เป็นยาปลูกผม

----------------------------------------------------------------------

บ้านคนรักสุนทราภรณ์