ไปที่เว็บ_พระไตรปิฏกฉบับอ่าน..

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สมุนไพรผลไม้ชนิดต่างๆ 01


กล้วย (
Banana)

สรรพคุณทางยาสมุนไพร

กล้วยมีความสำคัญและมีประโยชน์ ตั้งแต่ด้านการใช้สอย ความเชื่อด้านพิธีกรรม ประโยชน์คุณค่าทางอาหารแล้วยังเป็นยารักษาโรคได้ดีอีกอย่างด้วย
ผลกล้วยดิบ  นำมาฝานทั้งเปลือกตากแห้งแล้วนำมาบดให้ละเอียดเป็นผงชงดื่ม เป็นยาแก้ท้องเดิน และรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
ผลกล้วยสุก  ช่วยในการระบายเป็นยาอายุวัฒนะ เมื่อนำผลสุก 1 ผล มาผสมกับน้ำผึ้งรับประทานก็จะช่วยระบาย
รากกล้วย  นำมาตำพอกแก้เคล็ดขัดยอก รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
ยางกล้วย  มีสารเทนินใช้สมานในการห้ามเลือด แผลสด แมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคลิ้นเป็นฝ้าขาวในเด็ก
หัวปลี  ช่วยบำรุงน้ำนม นิยมนำมาทำเป็นแกงเลียงให้แม่ลูกอ่อนรับประทาน และยังบำรุงเลือดด้วย
เปลือกกล้วย  ที่รับประทานแล้วนั้น นำมาถูส้นเท้า ฝ่ามือ นิ้มป้องกันและระงับเชื้อแบคทีเรีย

คุณค่าทางอาหาร

กล้วยไทยที่มีชื่อเสียงดังก้องไปทั่วโลกว่ามีรสหอมกว่ากล้วยของประเทศอื่น คือ กล้วยหอม ส่วนกล้วยที่ใช้ประโยชน์มากที่สุด คือ กล้วยน้ำหว้า วิธีใช้ในการประกอบอาหารของกล้วยนั้นมีอยู่หลายวิธี
กล้วยสุก  นำไปเผาทั้งเปลือก แล้วขูดเอาแต่เนื้อนำไปบดกับข้าวถือว่าเป็นอาหารชนิดแรกของคนไทย นอกจากนมแม่
กล้วยดิบ  ใช้ทำเป็นแป้งไว้ผสมอาหารอื่น
กล้วยนำมาถนอมอาหารสามารถเก็บไว้ได้นาน เช่น กล้วยฉาบ กล้วยตาก กล้วยกวน ข้าวเกรียบกล้วย
กล้วยตานี  หั่นเป็นแว่นๆ  ดองน้ำส้ม เกลือ น้ำตาล เป็นผักจิ้มหรือของขบเคี้ยวอาหารว่าง
กล้วยดิบอื่นๆ  ใช้แกงป่า ให้ทำต้มยำ
หัวปลี   ทำแกงเลียง ทำเครื่องเคียงขนมจีน น้ำพริก
หยวกกล้วยอ่อน  ใช้แกงส้ม ต้มจิ้มน้ำพริก
จะเห็นว่าคุณค่าทางโภชนาการและอาหารของกล้วยมีสูง ดีต่อร่างกาย หาซื้อง่าย หากรับประทานเป็นปกติก็จะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย โดยเฉพาะให้พลังงานสูง แคลเซียมในกล้วยช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน วิตามินก็ครบครันทั้งวิตามินบี 1 ป้องกันโรคเหน็บชา วิตามินบี 2 ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายตามปกติ วิตามินซี ป้องกันโรคหวัด โรคเลือดออกตามไรฟัน และยังมีสารอาหารมากคุณค่าอื่นๆ อีก

คุณค่าทางโภชนาการและอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม

พลังงาน                  147          แคลอรี่
โปรตีน                    1.1           กรัม
ไขมัน                     0.2           กรัม
คาร์โบไฮเดรต         3.51         กรัม
แคลเซียม                7              มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส              43            มิลลิกรัม
เหล็ก                   0.8           มิลลิกรัม
เบต้าแคโรทีน          48            ไมโครกรัม
วิตามีนบี 1               0.04         มิลลิกรัม
วิตามีนบี 2               0.02         มิลลิกรัม
ไนอะซีน                  1.4           มิลลิกรัม
วิตามีนซี                  1.4           มิลลิกรัม

ที่มา : หนังสือ คัมภีร์แพทย์สมุนไพร ผลไม้สมุนไพรและพืชผักสวนครัว
.............................................................................................................................................
กล้วยหอม
มีสารอาหารที่สำคัญหลายชนิด เช่น แป้ง โปรตีน
ไขมัน น้ำตาล วิตามิน อีกหลายชนิด นอกจากนี้
ผลกล้วยหอมยังช่วยแก้โรคริดสีดวงทวาร เลือดออก
ท้องผูก และไอเรื้อรัง เปลือกกล้วยหอมน้ำมาต้มรับประทาน
น้ำแก้โรคความดันโลหิตสูง ส่วนใบหรือก้านตำให้แหลก
ทาพอกแก้ฝีบวม

.....................................................................................................................

ขนุน
สารอาหารอยู่หลายชนิด เช่น น้ำตาล วิตามิน บี และ ซี
ส่วนเมล็ดมีแป้งอยู่มาก นอกจากนี้ยางที่ต้นขนุนสดๆ
ใช้แก้แผลเปื่อยที่บริเวณขา ใบขนุนตากแห้ง บดเป็น
ผงพอกแผลที่มีดบาดหรือเลือดออก เมล็ดขนุนอบแห้ง
บดเป็นผงกินก่อนอาหาร แก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง

......................................................................................................................
เงาะ (Rambutan)

สรรพคุณทางยาสมุนไพร

เงาะนอกจากจะเป็นผลไม้ที่มีรสชาติดีจนเป็นที่นิยมรับประทานเป็นอาหารว่างแล้วยังนำมาปรุงเป็นยาสมุนไพรรักษาโรคต่างๆ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ใบ  นำมาเป็นยาพอก
ผล  เป็นยาแก้โรคบิด แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงกำลัง บำรุงร่างกายและแก้ไข้
เปลือกต้น  เป็นยาสมานแผลที่ลิ้น แก้ท้องร่วง
เมล็ด  ทำให้หลับ

คุณค่าทางอาหาร

เงาะนำมารับประทานเป็นผลก็ได้รสชาติที่อร่อยตามธรรมชาติแล้ว หรือจะเอามาแกะเมล็ดออก นำแต่เนื้อมาแช่เย็นรับประทานก็ชื่นใจดี นอกจากนั้นยังนำมาทำน้ำผลไม้ปั่นเป็นเครื่องดื่มผลไม้ที่อร่อย หอมทหวานชื่นใจ
ในเนื้อเงาะนั้นมีน้ำตาลอยู่สูงมาก มีวิตามินซี ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน และยังมีกรดไขมันที่พบในเมล็ดน้ำมันใช้เป็นอาหารกินได้ แต่จะนำมาทำสบู่และเทียนไขมากกว่า มีแคลเซียมที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันอีกทั้งยังมีวิตามินบี 2 ช่วยย่อยสลายไขมัน ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกายและไนอะซีนที่ช่วยในการย่อยอาหาร และแร่ธาตุอื่นๆ อีกมากมาย

คุณค่าทางโภชนาการและอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม

พลังงาน                  70            แคลอรี่
โปรตีน                    1.0           กรัม
ไขมัน                     0.4           กรัม
ฟอสฟอรัส              20            มิลลิกรัม
เหล็ก                       0.3           มิลลิกรัม
คาร์โบไฮเดรต         15.7         กรัม
แคลเซียม                29            มิลลิกรัม
วิตามีนบี 2               0.13         มิลลิกรัม
ไนอะซีน                  1.3           มิลลิกรัม
วิตามีนซี                  2              มิลลิกรัม
 ที่มา : หนังสือ คัมภีร์แพทย์สมุนไพร ผลไม้สมุนไพรและพืชผักสวนครัว
.........................................................................................................................
เงาะ
เปลือกเงาะนำมาต้มกินน้ำ เป็นยาแก้อักเสบ
รักษาอาการอักเสบในช่องปาก และโรคบิดท้องร่วง
ส่วนเมล็ดของเงาะมีพิษ ถ้ากินมากเกินไปก็ทำให้
มีอาการปวดท้อง จึงไม่ควรจะรับประทาน


ตาล (Palmyra palm,Lantar Palm,Pan,Palm.Brab Palm)

สรรพคุณทางยาสมุนไพร

ตาลเป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ นำมาทำเป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้เป็นอย่างดี
ใบ นำมาคั่วให้ออกเหลือง บดให้เป็นผงละเอียดใช้สูบหรือเป่า ลดความดันโลหิต หอกจากนั้นใบตาลยังแก้อาการกระสับกระส่ายหลังคลอดด้วย
กากใบหรือก้านใบ นำมาผิงไฟ บีบเอาแต่น้ำ รับประทานเป็นยาแก้ท้องเสีย ท้องร่วง หรือนำมาอมแก้ปากเปื่อย
งวง ใช้ขับพยาธิ แก้พิษตานซาง ทำให้ร่างกายสดชื่น
ราก ใช้เป็นยาชูกำลัง แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ทอนซิลอักเสบ แก้ไข้ แก้ซางเด็ก และขับพยาธิ

คุณค่าทางอาหาร

ตาลเป็นผลไม้มากคุณค่าด้วยสารอาหารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน วิตามินบี 1 ในลูกตาลช่วยย่อยอาหาร เสริมสร้างกล้ามเนื้อและหัวใจ ส่วนวิตามินบี 2 ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและวิตามินซี ป้องกันโรคหวัด สมานบาดแผล ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ฯลฯ

คุณค่าทางโภชนาการและอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม

พลังงาน                  47            แคลอรี่
โปรตีน                    0.5           กรัม
ไขมัน                     1.0           กรัม
คาร์โบไฮเดรต         9.0           กรัม
แคลเซียม                6              มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส              20            มิลลิกรัม
เหล็ก                       1.7           มิลลิกรัม
วิตามีนบี 1               0.03         มิลลิกรัม
วิตามีนบี 2               0.01         มิลลิกรัม
ไนอะซีน                  0.5           มิลลิกรัม
วิตามีนซี                  2              มิลลิกรัม

ที่มา : หนังสือ คัมภีร์แพทย์สมุนไพร ผลไม้สมุนไพรและพืชผักสวนครัว
.....................................................................................................................
แตงไทย (Mask Melon, Melon)

สรรพคุณทางยาสมุนไพร

แตงไทยเป็นผลไม้ที่มีสรรพคุณสมุนไพรรักษาโรคต่างๆ ได้ดี ไม่แพ้กับยาขนานอื่นๆ เช่นกัน
ใบแตงไทย  มีรสจืด แก้ไข้
ดอกแตงไทย  นำดอกอ่อนมาต้มรับประทานเป็นยาทำให้อาเจียน แก้ดีซ่านหรือบดเป็นผงละเอียด พ่นรักษาแผลในจมูก
ผลแตงไทย  นำมาทานเป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ สมอง ขับน้ำนม ขับเหงื่อ และแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
รากแตงไทย  นำมารับประทาน น้ำเป็นยาระบาย และทำให้อาเจียน
เมล็ดแตงไทย  มีรสเย็น จืด เป็นยาเย็น ขับปัสสาวะช่วยย่อยและแก้ไอ

คุณค่าทางอาหาร

แตงไทยเพียงแค่นำมาจิ้มน้ำตาลทรายก็อร่อย และหอมหวานชื่นใจแล้ว หรือจะนำมารับประทานกับน้ำกะทิ ซึ่งเป็นของหวานที่อร่อยอย่างหนึ่งก็ได้ นอกจากนั้นยังนำมาปั่นเป็นน้ำแตงไทยดื่มกันสดๆ ก็จะได้รสชาติผลไม้ที่หวานและหอมแบบธรรมชาติแท้ๆ ยิ่งขึ้นไปอีก
แตงไทย โดยเฉพาะในเนื้อผลแก่จะมีวิตามินเอสูงมาก ซึ่งวิตามินเอนี้จะช่วยป้องกันโรคมะเร็ง มีประโยชน์ต่อสายตา บำรุงสายตา มีวิตามินซีช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน มีธาตุฟอสฟอรัสและแคลเซียมช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน ทำให้ไม่เป็นโรคกระดูกผุ อีกทั้งยังมีวิตามินบี 1 ป้องกันโรคเหน็บชา และไนอะซีนที่ช่วยเปลี่ยนน้ำตาลและไขมันเป็นพลังงาน ช่วยในระบบย่อยอาหารและผิวหนังมีสุขภาพดี และยังมีสารอาหารที่สำคัญอื่นๆ อีกมาก

คุณค่าทางโภชนาการและอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม

พลังงาน                  12            แคลอรี่
โปรตีน                    0.3           กรัม
คาร์โบไฮเดรต         2.8           กรัม
แคลเซียม               1              มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส              17            มิลลิกรัม
เหล็ก                    0.3           มิลลิกรัม
วิตามินเอ                 55            หน่วย
วิตามีนบี 1               0.07         มิลลิกรัม
วิตามีนบี 2               0.03         มิลลิกรัม
ไนอะซีน                  0.3           มิลลิกรัม
วิตามีนซี                  56            มิลลิกรัม

ที่มา : หนังสือ คัมภีร์แพทย์สมุนไพร ผลไม้สมุนไพรและพืชผักสวนครัว
แตงไทย แก้ตับอักเสบเรื้อรัง ทั้งชนิดที่มีอาการดีซ่าน
และไม่ดีซ่าน โดยนำก้านขั้วมาอบในเตาอบให้แห้งสนิท
บดให้ละเอียด ใส่เข้าไปในจมูกทั้งสองข้าง แล้วสูดหายใจ
เข้าไปลึกๆ เมล็ดแตงไทยบดแก้ลำไส้หรือปอดอักเสบ
มีฝีหนองข้างใน และถ้าผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นก้อนจะแก้อาการ
ปากเหม็น ถ้าเมล็ดแตงไทยบดแล้วดองสุรา จะแก้อาการ
ปวดเอว ปวดขา
....................................................................................................................
แตงโม
เปลือกแตงโม ต้มเป็นยาข้นๆ กินแก้ตับอักเสบเฉียบพลัน
หรือเรื้อรัง ถ้านำเปลือกแตงโมมาต้มกินแทนน้ำ จะแก้
ความดันโลหิตสูง และนอกจากนี้ยังแก้ริมฝีปากแตก และ
เจ็บคอ ส่วนน้ำคั้นจากแตงโมจะแก้อาการหวัด เหงื่อออกมาก
และกระหายน้ำ

........................................................................................................................
ท้อ (Peach, Nectarine)

สรรพคุณทางยาสมุนไพร

ทุกส่วนของท้อสามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น ใบ ดอก ผล เมล็ด ก้านอ่อน ราก และยางจากลำต้น
ใบ  ใบสดๆ ใช้เป็นยาสำหรับภายนอก โดยการนำมาตำและพอกบริเวณที่เป็นบาดแผล หรือต้มรับประทาน ใช้รักษาอาการปวดหัว ปัสสาวะขัด ท้องผูกไข้มาลาเรีย โรคผิวหนังเรื้อรังมีหนอง โรคอหิวาตกโรค ปวดท้องและอาเจียน หรือนำเอาใบมาคั้นแต่น้ำมาทาบริเวณที่บวม เป็นกลากตามบริเวณหน้าตาและตามตัว ใบท้อเมื่อนำมาตำใช้พอกบริเวณที่เป็นแผลในจมูก
ดอก  นำดอกที่ตากแห้งในที่ร่มแล้ว มาบดให้เป็นผงละเอียดผสมกับเหล้าอุ่นรับประทานเป็นยารักษาโรคกระเพาะปัสสาวะ ตาบวมน้ำ ปวดเอว มีน้ำในไต นำดอกที่ตูมและตากแดดในร่มแล้วมาบดเป็นผงผสมกับไขมันหมูให้เข้ากัน รักษาแผล
ดอกท้อที่แห้งแล้วนำมาบดให้เป็นผงละเอียดรับประทาน รักษาอาการปวดแน่นหน้าอกตามบริเวณหัวใจและนำดอกสดและลูกต๋าวมาต้มรับประทานแก้โรคพรรดึก มีก้อนอุจจาระแห้งอุดลำไส้ หรือถ่ายไม่ออก และยังนำมาผสมกับเกลือแล้วบดเป็นผงผสมกับน้ำส้มสายชูพอกบริเวณเป็นแผลผื่นคัน
ผลสุก  นอกจากจะรับประทานเป็นผลไม้ที่มีรสชาติเยี่ยมแล้วความเปรี้ยวของท้อยังช่วยกระตุ้นน้ำลาย ขับสิ่งคั่งค้างและช่วยหล่อลื่นลำไส้
เมล็ด  นำมาต้มรับประทานหรือจะนำมาทำเป็นยาเม็ดหรือยาผงรับประทานก็ได้ หรือใช้สำหรับภายนอกโดยการตำพอกใช้รักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติหลังคลอด โลหิตจาง ตกเลือด ตกขาว รักษาไข้มาลาเรีย บรรเทาอาการปวดฟัน แก้ลมพิษ บวม ชัก ปวดท้อง ปวดเอว ท้องผูก เป็นแผลที่ช่องคลอด
ราก  นำรากท้ออ่อนมาผสมกับน้ำตาลแดง ตำพอกบริเวณที่เจ็บเนื่องจากเยื่อหุ้มกระดูกอักเสบ นำมาหั่นเป็นฝอย แล้วต้มรับประทานเป็นยารักษาโรคดีซ่านและตาเหลือง
นอกจากนั้นรากท้อยังใช้รักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ปวดข้อ แผลบวม อาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด โรคริดสีดวงทวาร มีหนองเรื้อรังอีกด้วย
ต้น   นำมาต้มหรือบดให้เป็นผงละเอียด รับประทานเป็นยารักษานิ่ว โรคบิดถ่ายเป็นมูกเลือด หลังคลอด เป็นจุดด่างดำบนผิวหนัง แก้คอแห้ง

คุณค่าทางอาหาร

ท้อถึงแม้จะนำมาปรุงเป็นอาหารคาวไม่ได้ แต่ก็สามารถนำมาเป็นอาหารว่างได้ และนำมารับประทานเป็นผลไม้หรือจะนำมายี่เอาแต่เนื้อ ต้มกับน้ำไม่ใส่น้ำตาลทราย ใส่เกลือในอัตราส่วนที่เหมาะสม ปิดฝาทิ้งไว้ให้เย็น นำมาดื่มกับน้ำแข็งหรือตวงใส่ขวดแช่ตู้เย็นไว้ดื่มแก้กระหายได้
ท้อมีแคลเซียมในการบำรุงกระดูกทำให้ไม่เป็นโรคกระดูกเปราะ มีเหล็ก เบต้าโรทีน อีกทั้งยังวิตามินบี 1 แก้โรคเหน็บชา วิตามินบี 2 ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดและวิตามินซีสร้างแรงยืดหยุ่นให้ผิวหนัง ป้องกันมะเร็ง

คุณค่าทางโภชนาการและอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม

โปรตีน                    0.8           กรัม
คาร์โบไฮเดรต         7              กรัม
ไขมัน                     0.1           กรัม
ใยอาหาร                 0.5           กรัม
แคลเซียม                 8              มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส              20            มิลลิกรัม
เหล็ก                       1              มิลลิกรัม
เบต้าแคโรทีน          0.1           ไมโครกรัม
วิตามีนบี 1               0.01         มิลลิกรัม
วิตามีนบี 2               0.02         มิลลิกรัม
ไนอะซีน                 0.7           มิลลิกรัม
วิตามีนซี                  6              มิลลิกรัม

ที่มา : หนังสือ คัมภีร์แพทย์สมุนไพร ผลไม้สมุนไพรและพืชผักสวนครัว
เนื้อลูกท้อ เป็นยากระจายเลือด ให้น้ำหล่อเลี้ยงแก่ลำไส้
บำรุงหัวใจ ส่วนเมล็ดมีฤทธิ์กำจัดเลือดคั่ง แก้ไอ ดอกท้อ
เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ แก้อาการบวมน้ำ ประจำเดือนไม่มา
ใบท้อเป็นยาฆ่าพยาธิ และขับพยาธิ

...........................................................................................................................
ทับทิม (Granats, Granades)

สรรพคุณทางยาสมุนไพร

เปลือกต้นของทับทิมมีอัลคาลอยด์ที่ชื่อ Pelletierine และ Isopelletierine ซึ่งใช้เป็นยาถ่ายพยาธิได้ผลดี
ใบทับทิม  นำมาต้ม นำน้ำมาล้างแผลที่มีหนองเรื้อรังหรือนำมาตำให้ละเอียด แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นแผล จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
ดอกทับทิมแห้ง  นำมาต้มรับประทานแก้หูชั้นในอักเสบ หรือช่วยทำให้เลือกกำเดาแข็งตัว หรือนำมาบดให้ละเอียด ใช้ทาบริเวณบาดแผลที่มีเลือดออก
เปลือกรากทับทิมแห้ง  นำมาต้มรับประทาน เป็นยาถ่ายพยาธิช่วยหล่อลื่นลำไส้ แก้ระดูขาว ตกเลือด แก้ท้องเสีย และโรคบิดเรื้อรัง
เปลือกผลทับทิมแห้ง  นำมาต้มหรือบดให้ละเอียดรับประทานเป็นยาแก้ท้องเสีย  โรคบิด ตกขาว ถ่ายเป็นมูกเลือดและช่วยถ่ายพยาธิ
เมล็ดทับทิมแห้ง  นำมาบดให้ละเอียด รับประทานเป็นยาแก้โรคกระเพาะอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร และแก้ท้องร่วง

คุณค่าทางอาหาร

ทับทิมเป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวอมหวาน มีเนื้อสีแดงสวยชวนน่ารับประทานมาก คล้ายกับผลทับทิม มีวิตามินซี และแร่ธาตุหลายตัว ส่วนมากจะใช้รับประทานทั้งเม็ด คลุกน้ำตาล เกลือหรือนำมาทำลอยแก้ว
ทับทิมยังสามารถนำมาคั้นหรือปั่นเป็นน้ำผลไม้ เพื่อรับประทานได้ มีคุณค่าทางโภชนาการหลากหลาย วิตามินซีในทับทิมยังช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน และมีแคลเซียมช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันทำให้สุขภาพฟันแข็งแรง อีกทั้งใบของทับทิมยังสามารถนำมาทำเป็นยาแก้ท้องร่วงทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้ เปลือกก็นำมาต้มดื่มแก้ท้องร่วงได้เช่นกัน

คุณค่าทางโภชนาการและอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม

วิตามินซี
ฟอสฟอรัส
แคลเซียม
 ที่มา : หนังสือ คัมภีร์แพทย์สมุนไพร ผลไม้สมุนไพรและพืชผักสวนครัว
ใบทับทิมอ่อนต้มกับน้ำรับประทาน แก้ตาแดง
เยื่อบุตาอักเสบ เปลือกหุ้มรากทับทิมต้มกับน้ำ
ขับพยาธิตัวตืด พยาธิใบไม้ พยาธิปากขอ พยาธิตัวกลม
เปลือกหุ้มผลเป็นยาดีในการรักษาโรคบิด และต้านเชื้อ
ได้อีกหลายชนิด หูน้ำหนวก ใช้ดอกทับทิมคั่วจนแห้งแล้ว
บดเป็นผงจากนั้นผสมกับเมล็ดการบูร เป่าเข้าในหู

...................................................................................................................

บ้านคนรักสุนทราภรณ์